เพลง ON กับการปฎิวัติ

เพลง ON กับการปฎิวัติ อุดมการณ์และสันติภาพผ่านบทเพลง

เพลง ON กับการปฎิวัติ อุดมการณ์ สันติภาพ และอิสระภาพผ่านบทเพลง

เพลง ON กับการปฎิวัติ หลังจากการปล่อยเอ็มวีเพลง ON ในอัลบั้ม Map Of The Soul : 7 ออกมาทั้งสองเอ็มวีแล้ว ทั้งเอ็มวีเวอร์ชั่น Kinetic Manifesto Film และเอ็มวีปกติออกมาในวันที่ 21 และ 27 ก.พ. 2020 ก็สร้างความฮือฮาให้กับแฟนคลับอย่างอาร์มี่ และผู้ชมที่นอกเหนือจากแฟนคลับอย่างท่วมถ้น เพราะนอกจากตัวเอ็มวีแรกที่ได้เห็นศักยภาพการเต้นของพวกเขาที่ไม่แผ่ว ยังได้เห็นมุมมองที่พวกเขาเผยผ่านบทเพลงด้วย

แน่นอนว่า BTS ไม่เคยทำเพลงที่ไม่แฝงหรือตีแผ่อะไรเลย ทุกเพลงหรือเอ็มวีของพวกเขา มักมีนัยแฝง หรือมีการอ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ ศาสนา หรือสังคมที่พวกเขาอยากจะสื่อและถ่ายทอดมันออกมาผ่านบทเพลง ซึ่งพวกเขาก็ทำจนเป็นซิกเนเจอร์ของวงเลยก็ว่าได้

ในวันนี้เราจะมาวิเคราะห์และเล่าถึงเอ็มวีและตัวเพลง ON ที่ทำออกมาเพื่อปฎิวัติ พร้อมทั้งอุดมการณ์ต่างๆ ที่แฝงมาในเพลง จะเป็นยังไงนั้น ไปติดตามกันได้เลย

! โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความ เพราะเป็นการวิเคราะห์จากผู้เขียนเท่านั้น

ประเด็นสังคม การเมือง การปฎิวัติต่างๆผ่านเพลงเดียว 

อย่างแรกเลยต้องบอกว่า BTS หรือบังทันโซนยอนดัน มีหลากหลายเพลงที่ พูดถึงการเมืองมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเพลง Baepsae ที่พูดถึงความเหลื่อมล้ำ ของสังคม ระหว่างพวกที่คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด (Elite) กับพวกนกกระจิ้บนกกระจอก (Grassroots) หรือจะในเพลง Am I wrong ที่มีการเสียดสีคำพูดของเจ้าหน้าที่รัฐคนหนึ่งที่กล่าวว่ามันไม่แปลกที่จะปฏิบัติกับประชาชนเป็นเหมือนหมูเหมือนหมา และเพลงที่ epic มากๆ ทั้งเนื้อเพลงทั้ง MV อย่างเพลง Not Today ที่กล่าวถึงการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นแรงงานที่เปรียบเหมือนเป็น underdog ในสังคม

จากเพลงที่ยกขึ้นมาจะเห็นได้ว่าบังทันเล่นประเด็นทางการเมือง ในสังคมมาเรื่อยๆ โดยไล่สเกลจากสังคมเล็กๆ อย่างสังคมในโรงเรียนจนมาถึงสังคมผู้ใหญ่วัยทำงาน และสำหรับเพลง On นี้ เป็นประเด็นที่ใหญ่มากกว่าเดิม โดยทั้งเนื้อเพลงและ MV มันถูกกล่าวถึงการปฏิวัติทางการเมืองโดยตรง

ก่อนอื่นเราจะเริ่มที่ตัวเนื้อหาของเพลง แน่นอนว่าเพลงแบบนี้จังหวะแบบนี้ มันเป็นเพลงที่มีการปลุกใจคนฟังขั้นสุด เนื้อหาของเพลงจะพูดถึงการดิ้นรนเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยเปิดด้วยการตั้งคำถามที่ว่า“ผมไม่เข้าใจเลยว่าทุกคนกำลังพูดเรื่องอะไรกันอยู่ แล้วต้องเดินไปตามจังหวะหรือเส้นทางของใคร” ในที่นี้เรามองไอ้จังหวะที่ว่าคือ ‘อุดมการณ์’ หรือ ‘การถูกชักจูง’ ของใคร เงาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ก้าวเดิน คือสิ่งที่พยายามยึดมั่นเอาไว้ของตัวเอง

“ผมลืมตาตื่นขึ้นมาที่นี่มันที่ไหน? โซล นิวยอร์ก หรือว่าปารีส” ทั้งสามที่ที่กล่าวมามีการปฏิวัติเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ใหญ่ๆ อย่าง April Nineteenth Student Rovolution ในกรุงโซลที่นักศึกษาออกมาประท้วงกันอย่างหนัก หรือจะในฝรั่งเศสปี 1789 ที่ประชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตการเป็นอยู่ในสลัมที่สิ้นหวัง แต่ภายในพระราชวังกลับทำทุกอย่างด้วยฟุ่มเฟือย อันเป็นหนึ่งในชนวนสำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในต่อมา โดยท่อนนี้ได้ร้องออกมาต่อมาว่า “ผมพยายามลุกขึ้นมาด้วยร่างกายที่สั่นเทา” ประหนึ่งเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และคล้ายคลึงกัน

Joseph Kim on Twitter: "60 years ago today, South Koreans protested U.S.-backed President Syngman Rhee for widespread vote-rigging. The protests, known as the April Revolution, was spearheaded by students and lasted two

SNU's Manifesto of April 19 Revolution - News - Newsroom - SNU NOW - Seoul National University
การปฎิวัติ April Nineteenth Student Revolution

ต่อมาในท่อนของ RM ที่เราว่ามันสื่อถึงการเป็นเพียงประชาชนคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งในโลกได้ดีเลยคือท่อนที่บอกว่า “ก้มมองดูที่เท้า เงาที่เป็นเหมือนตัวผม ใช่มันหรือเปล่าที่กำลังสั่นไหว หรือเป็นเท้าเล็กๆ ของผมเองที่กำลังสั่น” และต่อด้วย “ไม่ใช่ว่าผมไม่กลัว ทุกอย่างมันไม่ได้ดีหรอกผมรู้ ก็เพราะแบบนั้นและ ผมต้องไปต่อแม้จะกังวลแค่ไหน แต่ผมก็จะบินไปพร้อมสายลมที่มืดดำนั้น”

টুইটারে BTS NOTÍCIA🎄🔔: "[FOTOS] Bighit postou fotos do @BTS_twt durante as filmagens do MV de ON em seu Facebook. 🔗https://t.co/5IWFbCQybm #BoyWithLuv #BestMusicVideo #iHeartAwards… https://t.co/onvoUxlsPY"

Do You Hear the People Sing? หลายๆ คนอาจจะรู้จักเพลงนี้ จากภาพยนต์เรื่อง Les Misérables ในปี 2012 โดยเพลง Do You Hear the People Sing? เป็นบทเพลงสะท้อนสภาพการกดขี่ข่มเหงประชาชนของผู้มีอำนาจ จนทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นต่อสู้เรียกร้อง โดยในเพลงจะมีท่อนแรกที่บอกว่า “คุณได้ยินเสียงประชาชนขับร้องมั้ย นี่คือบทเพลงแห่งคลั่งโกรธ นี่คือเพลงของผู้คนที่จะไม่ยอมเป็นทาสต่อไปอีกแล้ว” และ “เมื่อจังหวะแห่งใจเต้นพ้อง สะท้อนเสียงกลองก้องไกลระรัว แล้วชีวิตหนึ่งจะเกิดขึ้นมายามรุ่งอรุ่ณ”

ย่ำไปในดงเพลง : ได้ยินเสียงร้องของผู้คนหรือไม่ Do You Hear

ถามว่าทำไมเรายกเพลงนี้มาเกี่ยวข้อง เพราะในเพลง On ก็มีสิ่งที่คล้ายกับเพลงนี้ โดยเพลง On ได้ร้องว่า “มันต้องบ้าไปเลย ถึงจะเรียกว่าไม่บ้า” ประโยคนี้ก็คือ symbolic ของความโกรธที่ออกมาเหมือนกัน แล้วยังมีท่อนอย่าง “ไม่มีอะไรดึงตัวผมลงมาได้หรอก เพราะคุณก็รู้ว่าผมมันนักสู้ ผมจะก้าวเท้าเข้าไปในคุกอันสวยงามด้วยเท้าของผมเอง ตามหาผมให้เจอแล้วเราจะอยู่กับคุณเอง” และอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่รู้ว่าเป็นความตั้งใจหรือความบังเอิญ คือ ‘กลองที่ดังระรัว’ เราจะเห็นว่าใน perf. ของเพลง On มีแดนเซอร์ถือไม้กลองเป็นของใครของมันกันทุกคน แต่ในตัวกลับไม่มีกลองสแนร์? ตรงจุดนี้ก็ต้องหาคำตอบกันต่อไปว่าเป็น symbolic แบบไหนนั่นเอง

“Bring the pain เอาความเจ็บปวดออกมา” เอามาเลย เอามาเลยสิ! ประโยคแห่งความโกรธความกัดฟันสู้ไม่ถอยดังออกมา “ยังไงฝนมันก็ต้องตก ฟ้าก็ต้องถึงคราวถล่มทุกๆ วันอยู่ดี เอาเลยสิ เอาความเจ็บปวดออกมาเลย!” จากท่อนนี้ เราว่ามันก็ชัดเจนสุดๆ ไปเลยค่ะ

การต่อสู้ที่นำมาทั้งหยาดน้ำตา และหยดเลือด แต่ก็ยังไม่หวั่น เพราะมีวิธีมีชีวิตอยู่กับสิ่งเล็กๆ ต่อให้ต้องร่วงหล่นกี่ครั้งก็ต้องลุกขึ้นมา “ถึงจะล้มลงแต่ผมก็จะลุกขึ้นมาใหม่” เป็นประโยคที่ทั้งเจโฮปและชูก้าต่างร้องต่อกัน ประหนึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญว่า ไม่ว่ายังไงก็ต้องลุกขึ้นมา “นั่นคือสิ่งที่เราเป็นมาตลอด แม้ว่าเข่าจะทรุดกองลงไปกับพื้น ตราบใดที่ผมยังไม่ถูกกลบฝัง เรื่องแบบนั้นมันเกิดขึ้นได้ มันไม่สำคัญหรอก” จนกว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ระบบแย่ๆ สร้างขึ้นจะถูกกลืนหายไป “ผมต้องชนะ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ว่ายังไงผมก็ต้องชนะ ไม่ว่าคุณจะพูดอะไร ใครจะพูดยังไง ผมไม่สนหรอก ผมไม่แคร์ด้วย ไม่ให้ค่าหรอก” ตรงจุดนี้ต้องชูฮกให้มินพีดีเลยค่ะ

และท่อนของจองกุกที่เป็นเหมือนกับการสิ้นสุด มากระชากอารมณ์ให้เราหวนคิดถึงการสูญเสียที่เกิดขึ้นว่าไม่จะเป็น ‘เลือด’ หรือ ‘น้ำตา’ ที่ไหลออกมา ก็จะไม่มีความกลัวอีกต่อไป จะร้องเพลงนี้ให้ดังก้องต่อไป ให้คนพวกนั้นรับรู้เอาไว้ว่าเราไม่ถอย เราจะสู้จนกว่าจะชนะนั่นเอง “ผมเลือกที่จะจู่โจมเข้าไปในเหวลึกที่มืดมิดนั่น ค้นหาผมสิและผมจะเสียเลือดเนื้อไปกับคุณ”

และมาถึงท่อนสุดท้าย คือมีประโยคที่เราชอบมากอย่าง “ทุกอย่างที่ผมรู้ คือผมต้องดำเนินต่อไป ต่อไปอีก ก้าวต่อไปอีก” มันสื่อถึงทุกอย่างมันไม่ได้จบสิ้น แม้ในคราวนี้หรือคราวหน้าเราจะแพ้หรือชนะยังไง ทุกสิ่งก็ต้องดำเนินต่อไป เพราะงั้น “เอาเลยสิ เอาความเจ็บปวดออกมาซะ”

BTS กับเกมส์ Assassin’s Creed เพลง ON กับการปฎิวัติ

มาในส่วนของตัว MV กันหน่อยดีกว่า อันนี้เราอาจจะไม่ใช่สายวิเคราะห์องค์ประกอบอะไรมากมายนัก เพราะขี้เกียจหาข้อมูล(ฮา) แต่จะพยายามพิมพ์ตามที่เราดูแล้วคิดว่าแล้วกันนะคะ

ก่อนอื่นเลย หลังจากเราดู MV แล้ว เราไม่ได้นึกถึง Lion king ไม่ได้นึกถึง Maze runner เลย แต่สำหรับเรา เรากลับนึกถึงเกมๆ หนึ่ง ที่ชื่อว่า Assassin’s Creed (แต่ตรงจุดนี้ต้องบอกก่อนว่าไม่ได้หมายถึง BTS นำเรื่อง Assassin’s Creed มาอ้างอิงนะคะ แต่แค่ Vibe มีความใกล้กันจนน่าตกใจ)

เกม Assassin’s Creed เป็นเกมที่สร้างจากนิยายที่อิงมาจากประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 3, Italian Renaissance, การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 อย่างใน Assassin’s Creed ภาค Unity

เพลง ON กับการปฎิวัติ

หลังจากดูแล้ว อาจจะคิดใช่มั้ยละคะ ว่ามันเหมือนกับใน MV ของ BTS ตรงไหน? ไม่มีความใกล้เคียงกันทั้งยุคสมัยอะไรสักอย่างเลยนิ เอาล่ะค่ะ เราจะมาไล่เรียงกันเลย อย่างแรกเลย Assassin คือนักฆ่าใช้ชีวิตเป็นเหมือนเงามืดซ่อนตัวอยู่ มีผ้าหลุมปกปิดใบหน้าเอาไว้ โดยองค์กรนี้ถูกต้งขึ้นสมัยสงครามครูเสดจากฝั่งศาสนาอิสลาม

เราจะเห็นได้ว่าใน MV เพลง On มีฉากที่หนุ่มๆ ใส่ผ้าหลุมปกปิดใบหน้ากันอยู่ ถ้าถามเราว่า เห้ย แค่นี้ก็คิดว่าเหมือนกันแล้วหรอ? เราจะบอกว่าเราไม่ได้วิเคราะห์หนุ่มๆ BTS เป็นตัว Assassin ค่ะ แต่เรามอง BTS เป็นเพียงประชาชนในเมืองที่ได้รับความเดือดร้อนจากสงครามในครั้งนั้น

มีอะไรที่พวกเขาพูดถึงหรือแฝงใน MV บ้าง? สงคราม? เชลย? หรือการประกาศอิสระ? 

เพลง ON กับการปฎิวัติ

จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ฉากแรกที่ออกมา มีเพียงซากของคนล้มตายท่ามกลางสถานที่ที่รบกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วจินเข้าไปอยู่ตรงนั้น ฝนห่าธนูที่ยิงมาอย่างไม่บันยะบังยัง แม้แต่นกที่บินอยู่ยังหลบไม่พ้น และฉากนี้ถูกขยี้ลงไปอีก โดยให้นกพิราบขาวที่เป็นดั่งสัญลักษณ์แห่ง ‘สันติภาพ’ ได้ถูกธนูแห่งความโกรธเกรี้ยวไม่ว่าฝั่งใดทำลายลง

นอกจากนี้ถ้านกพิราบขาวได้คู่กับใบมะกอก ชาวคริสต์ยังถือว่านกพิราบเป็นวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้า (มีธรรมเนียมของชาวคริสเตียนโบราณอยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้าพวกคริสเตียนเกิดวิวาทบาดหมางกันขึ้นในระหว่างพวกตน ก็ให้ทำการประนีประนอมกันเอง จนเป็นธรรมเนียมถือปฏิบัติให้พระสังฆราชเป็นผู้ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ในการนี้พระสังฆราชจะนั่งบัลลังก์คาทีดรา (Cathedra) บนบัลลังก์นั้นมีรูปนกพิราบเกาะอยู่ด้วยเพราะนกพิราบเป็นเครื่องหมายของวิญญาณพระเจ้าที่จะคอยดลใจให้พระสังฆราชตัดสินได้ถูกต้อง)

เพลง ON กับการปฎิวัติ

และอย่างที่เราได้บอกไปข้างต้นว่าเกมนี้อิงจากประวัติศาสตร์โดยมีการพูดสงครามในยุคต่างๆ ไม่แปลกอะไรที่เราจะได้เห็น ‘เชลย’ ที่วิ่งหนีออกมาจากกำแพงสูงใหญ่ และฉากที่จองกุกวิ่งออกมา เราก็ไปนึกถึงเรื่อง Attack on titan  เป็นสัญญะของคนที่โดนกดขี่ กักขังไว้นั่นเอง และคนๆ นั้น ก็คือประชาชนที่โดนนั่นเอง

พูดถึงฉากของแต่ละคนอย่างจีมินที่เปิดตัวมาจะพบว่ามีนั่งคนหนึ่งใส่อยู่บนรถสายตาว่างเปล่าบนตักมีกลองสแนร์วางทับอยู่ อีกฝั่งเป็นกลองที่กองอยู่รวมๆ กัน ถ้าใครสงสัยว่าทำไมต้องกลองสแนร์ หรือทำไมต้องมีบรรยากาศเหมือนเพลงมาร์ช? จุดเริ่มต้นของกลองสแนร์จริงๆ แล้วกลองสแนร์เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่มาก โดยกลองสแนร์เป็นกลองที่ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 ที่ใช้ในกองกำลังทหารทั้งทางฝั่งอเมริกาและยุโรป ถามว่าเขาเอาไว้ใช้ทำไม ในงานรื่นเริงหรือเปล่า? ผิดค่ะ กลองสแนร์ถูกใช้ในการรบ นอกจากกลองสแนร์แล้วยังมีแตรที่ถูกใช้เป็นสัญญาณในการยิงปืนใหญ่หรืออื่นๆ หรือแจ้งสถานการณ์ต่างๆ ในตอนรบกัน เช่นการเริ่มหรือสิ้นสุดสงคราม

เพลง ON กับการปฎิวัติ

ภาพตัดมาที่วีนอนอยู่บนท่อนไม้ โดยทางตัวมีเด็กผู้หญิงถูกปิดตานั่งกอดเข่าอยู่ข้างๆ อันนี้เราว่าก็มีความเป็นนัยยะแฝงอยู่หลายอย่างให้ตีความเลยนะคะ อย่างแบบเป็นเด็กจึงไม่รู้ความอะไร ไม่เห็นว่าตอนนี้โลกมันแย่แค่ไหน ที่นั่งอยู่ตรงนั้นมันเป็นยังไง ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกยังไง หรือแม้อาจจะให้เห็นว่าเด็กที่ซึ่งเป็นแม้แต่อนาคตก็ยังมืดบอด มองไม่เห็นอะไร ถูกปิดหูปิดตาเอาไว้

ฉากต่อมา RM กับบรรดาสัตว์ทั้งหลาย ก็มีหลายคนกล่าวถึงเรือที่พังว่าเป็นเรือโนอาห์ สิ่งหนึ่งที่เราคิดเหมือนหลายๆ คนเลยคือ เพลงนี้นอกจาก BTS จะเล่นเรื่องการเมืองจากเนื้อเพลงแล้ว ประเด็นทางศาสนาก็มีด้วยเช่นกันค่ะ โดยประเด็นการเมืองทางศาสนานี่ยังรวมสงครามหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นจนเป็นสงครามใหญ่อย่างสงครมครูเสดที่มีใน Assassin’s Creed ด้วย รวมถึงฉากของชูก้าที่อยู่ในภายในห้องที่เหมือนโบสถ์ โดยมีเด็กๆ อยู่เต็มห้องเหมือนกำลังภาวนาอยู่เช่นกัน

ต่อมาฉากเจโฮปกับทุ่งหญ้าและนกกาจิกน้องเจเคอยู่ ประเด็นของฉากนี้คือความตาย ใช่ค่ะ ความตาย สังเกตดูได้ว่ารอบข้างมีต้นไม้ยืนต้นตายทั้งหมด และมีร่างจองกุกนอนให้อีกาจิกอยู่ด้วยเช่นกัน เหมือนเป็นสัญญะแห่งการพ่ายแพ้ แต่ในขณะเดียวกันต้นหญ้าที่เขียวชะอุ่มอยู่เต็มพื้นก็มีความขัดกันอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้ฉากนี้เข้ากับเนื้อเพลงที่ร้องว่า “ถึงจะล้มลงแต่ผมก็จะลุกขึ้นมาใหม่” เปรียบเป็นดั่งความหวังที่ไม่เคยสิ้นสุดลงนั่นเองค่ะ

พอพูดถึงความหวัง ในเอ็มวีก็ได้ปลุก ‘ความหวัง’ ขึ้นมาเป็นเสียงกลองที่ดังระรัวจากมือของเด็กชายตัวน้อย เด็กหญิงที่ถูกปิดตายืนขึ้นพร้อมเผชิญหน้า วีทำการเปิดตาเด็กน้อยและกุมมือไว้มองไปที่กำแพงใหญ่ที่ค่อยๆ เปิดออกทีละนิด ประหนึ่งสงครามนี้ใกล้สิ้นสุดลงแล้ว จากนั้นจองกุกก็ตื่นขึ้นปลดบรรณาการที่มัดไว้ออกพร้อมเป่าแตรหอยสังข์ ที่ตรงนี้เรามองว่าเป็นเหมือนการบอกว่าสิ้นสุดสงครามแล้ว จากนั้นทุกคนก็มารวมตัวกันและจินได้ปล่อยนกพิราบขาวที่เป็นดั่ง ‘สันติภาพ’ บินออกจากกรงไป พร้อม RM ที่ก้าวออกมาเพื่อเดินนำเข้าไป

บทสรุปของบทเพลง และการปฎิวัติเพื่อแค่ได้อิสระภาพในบทบาทของเชลยและประชาชน

จากตรงนี้เราขอย้อนไปเอ่ยถึงเกม Assassin’s Creed ภาค Unity จะเห็นได้ว่าสุดท้ายตัว Assassin คนไหนก็ไม่ใช่คนที่ทำลายระบอบการปกครองลงได้ เพราะในตอนท้ายก็จะมีแค่ประชาชนเท่านั้นที่เป็นคนเลือกเอง จากตรงนี้เราขอให้ข้อมูลนิดหน่อยเพราะไหนๆ ตัวเกมก็กล่าวถึงฝรั่งเศสในยุคนั้นแล้ว

การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติใหญ่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรป โดยมีสาเหตุทางด้านการคลังเป็นพื้นฐาน เป็นการปฏิวัติโดยกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองโดยการล้มล้างการปกครองในระบอบเก่า (Ancient Regime) หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) มาสู่อำนาจอธิปไตยของประชาชน กินเวลาในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1789-1799 ในการโค่นล้มระบอบกษัติย์ หลังจากสถาปนาระบอบสาธารณรัฐสำเร็จแล้วไม่นาน มีการแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองด้วยกันเอง

จนนำมาสู่ค.ศ. 1799 นาย พลนโปเลียน โบนาปาร์ต ยึดอำนาจจากคณะมนตรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด นโปเลียนดำรงตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ. 1799 – ค.ศ. 1803 ก่อนที่นโปเลียนจะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา หลังจากนั้นฝรั่งเศสต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายครั้ง สลับกันระหว่างแบบกษัตริย์ กับแบบสาธารณรัฐ จนกระทั่งปัจจุบัน

เพลง ON กับการปฎิวัติ

BTS's "ON" MV Loses Millions Of YouTube Views, ARMY Trends #YtBring67MBack - KpopHit - KPOP HIT

และสุดท้ายเล็กๆ น้อยๆ pride rock ที่หนุ่มๆ ขึ้นไปยืนทำให้หลายคนบอกว่าเหมือนบ้านซิมบ้าใน lion king เลย เราจะบอกว่าถ้าอิงจากใน Assassin’s Creed โดยองค์กร Assassin ที่เคยมีข้อมูลอยู่จริง ไอ้แบบนี้มันคล้ายกับ Alamut ที่เหมือนดั่งปราสาทที่ใครก็ตามที่ต้องการจะเข้าสมัครเป็น Assassin นั้นจะต้องฝ่ากับดับมากมายเข้าไปให้ได้ ตายกันก็เยอะระหว่างเส้นทางอันสูงชัน ก่อนถึง Alamut ไอ้อุปสรรคใน MV ก็คือเป็นต้นไม้ใหญ่ที่จู่ๆ ก็ขึ้นมาเต็มไปหมดล่ะมั้ง แต่สุดท้ายหนุ่มๆ ก็ทำได้เดินไปจนถึงยอดนั่นเอง

บทความเกี่ยวกับ BTS อื่นๆ >>>>> วิเคราะห์เพลง FAKE LOVE

เว็บไซต์อื่นๆน่าสนใจ >>>>> เกมออนไลน์