ปัจจัยความสำเร็จของ BTS

ปัจจัยความสำเร็จของ BTS จากเค-ป็อป สู่โลกกว้าง การเดินทางของบังทัน

ปัจจัยความสำเร็จของ BTS จากเค-ป็อป สู่โลกกว้าง การเดินทางสู่หนทางความสำเร็จของบังทัน

ปัจจัยความสำเร็จของ BTS จากความประทับใจที่บังซีฮยุก ซีอีโอของบิกฮิต เอนเตอร์เทนเมนต์ มีต่ออาร์เอ็ม แร็ปเปอร์หนุ่ม ในปี 2010 กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ บีทีเอส (BTS) ที่ในตอนแรกถูกมองว่าจะเป็นกลุ่มศิลปินฮิป-ฮ็อปในแบบเดียวกับวันไทม์ (1TYM) กลุ่มศิลปินของค่ายวายจี เอนเตอร์เทนเมนต์ แต่ระหว่างกำลังฟอร์มทีม ซีฮยุกก็ตัดสินใจว่า กลุ่มศิลปินที่เขาจะปั้นขึ้นมา ต้องเป็น “ใครสักคนที่เหล่าวัยรุ่นสามารถซบไหล่ได้ โดยไม่ต้องพูดอะไรมากมาย”

หลังเฟ้นหาสมาชิกอยู่นาน จนมาลงตัวที่ จิน, ซูกา, เจ-โฮป, อาร์เอ็ม, จีมิน, วี และจังกุก การเดินทางของบีทีเอสก็เริ่มต้น พวกเขาปรากฏตัวด้วยภาพลักษณ์แบบแบดบอย, ใส่โซ่ทอง, สวมผ้าโพกศรีษะ ทาขอบตาดำ ตัวเพลงมีความเป็นแร็ปที่เข้มข้น เนื้อหากระตุ้นให้คนหนุ่มคนสาว อย่ายอมให้ผู้ใหญ่มากำหนดความเป็นไปของพวกเขา

โดยมี “No More Dream” เป็นมิวสิกวิดีโอเปิดตัว ซึ่งปล่อยออกมาในเดือนมิถุนายน 2013 ผลลัพธ์ก็คือ นอกจากไม่มีวี่แววว่าจะเป็นซูเปอร์สตาร์ระดับโลกอย่างทุกวันนี้ กระทั่งในบ้านเกิดก็ไม่ดังเปรี้ยงปร้าง

เมื่อเพลงนี้เปิดตัวที่อันดับ 84 บนชาร์ตเพลงแกออน (Gaon) ในช่วงเวลาที่บอยแบนด์อย่าง EXO, Big Bang และ SHINee ครองเมือง ด้วยภาพลักษณ์สะอาดสะอ้าน มีการใส่ดนตรีฮิพ-ฮ็อพลงมาในบางเพลง เนื้อหาพูดถึงเรื่องความรักเป็นหลัก อย่างเพลงฮิตในปี 2013 ของเอ็กโซ “Wolf” ที่นอกจากจะมีเสียงคำราม และเห่าหอนแล้ว เนื้อเพลงยังเปรียบตัวเองเป็นสัตว์ป่าที่ทำให้เชื่องได้โดยหญิงสาวที่มีเสน่ห์ดึงดูด

ปัจจัยความสำเร็จของ BTS ค่ายเพลงใกล้ล้มละลาย : บิกฮิต เอนเตอร์เทนเมนต์ ทำบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่าง

ปัจจัยความสำเร็จของ BTS

ค่ายเพลงต่างๆ คัดเลือกคนหนุ่มคนสาวที่หวังจะเป็นขวัญใจของคนอื่นๆ ปีหนึ่งเป็นพันๆ คน โดยส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 10 – 14 ปี แล้วส่งไปฝึกฝนในสถานที่ซึ่งเรียกว่า เค-ป็อป ฟาร์ม โดยวางโปรแกรมเอาไว้อย่างเข้มข้น ทั้งการเต้น, การร้องเพลง

กระทั่งการแต่งหน้าทำผม ซึ่งทำกันเต็มเวลาและหนักหน่วง โดยมีผู้โชคดีเพียงไม่กี่คนที่ถูกเลือก และจะถูกจับเซ็นสัญญาที่กินระยะเวลายาวนาน แถมได้รับค่าจ้างที่น้อยนิด ต้องปรับตัวเข้ากับโลกของเค-ป็อปที่แสนโหดร้าย สมาชิกแต่ละคนจะถูกกำหนดบทบาทไว้ชัดเจน ใครคือผู้นำ, ใครคือนักเต้น, ใครจะนำเสนอภาพของวง รวมถึงใครเป็นคนที่ทำหน้าที่ ‘ลูกกวาดทางสายตา’ ของทีม

บีทีเอสก็ไม่แตกต่าง พวกเขาถูกปั้น สร้าง เหมือนกัน แต่บิกฮิต เอนเตอร์เทนเมนต์ ทำบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่าง จนพวกเขาสร้างสถิติและปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ศิลปินเค-ป็อปกลุ่มแรกที่ขึ้นพูดในการประชุมของสหประชาชาติ โดยอาร์เอ็ม ในฐานะผู้นำของวงพูดถึงการเอาชนะความไม่มั่นใจในตัวเอง และกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวทำแบบเดียวกัน,

ปัจจัยความสำเร็จของ BTS

เป็นศิลปินเค-ป็อปกลุ่มแรก ที่มีอัลบั้มขึ้นอันดับ 1 ชาร์ตอัลบั้มขายดีของสหรัฐอเมริกา เมื่อ ‘Love Yourself: Tear’ เปิดตัวด้วยอันดับ 1 ในเดือนพฤษภาคม 2018 ก่อนที่อัลบั้ม ‘Love Yourself: Answer’ จะทำได้ตามมา โดยพ่วยสถิติยอดจองอัลบั้มล่วงหน้ามากที่สุดถึง 1.5 ล้านชุด บีทีเอสยังเป็นศิลปินเกาหลีรายแรกที่ขึ้นโชว์ในสนามกีฬาของอเมริกา ขณะที่การแสดงในงานบิลล์บอร์ด อวอร์ดส์ เมื่อปี 2018 ก็ถูกบันทึกไว้ว่า บีทีเอสคือศิลปินเกาหลีรายแรกที่ได้เล่นในงานนี้ และเป็นศิลปินเอเชียรายแรกที่เปิดตัวเพลงใหม่ในงานอีกด้วย รวมทั้งเป็นศิลปินกลุ่มเกาหลี ที่ขึ้นเล่นในงานอเมริกัน มิวสิก อวอร์ดส์ เป็นรายแรก

ปี 2019 กินเนสส์ เวิร์ลด์ เรคอร์ดส์ต้องบันทึกชื่อพวกเขาถึงสองครา หนแรกในฐานะเจ้าของทวิตเตอร์ที่มีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นเยอะที่สุด โดยแต่ละทวีตของพวกเขามียอดเฉลี่ยการทวีตซ้ำ/ ตอบข้อความ/ ชอบ หรือปฏิกริยาอื่นๆ รวมกันถึง 330,624 ครั้ง ส่วนอีกหน คือ มิวสิกวิดีโอเพลง “Idol” สร้างสถิติถูกชมใน24 ชั่วโมงแรกมากที่สุด ถึงกว่า 45 ล้านครั้ง เอาชนะแชมป์เก่า “Look What You Made Me Do” ของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ซึ่งมีผู้ชมใน 24 ชั่วโมงแรกถึง 43.2 ล้านครั้ง

เมื่อพูดถึงความสำเร็จในโลกออนไลน์ บีทีเอสเป็นศิลปินที่อยู่ในอันดับ 1 ของชาร์ตบิลล์บอร์ด โซเชียล 50 ที่เป็นการจัดอันดับความนิยม โดยอิงจากความเคลื่อนไหวของศิลปินบนเครือข่ายทางสังคมต่างๆ นานที่สุด แล้วถ้ารวมกับการขึ้นอันดับ 1 ชาร์ตไอทูนส์กว่า 90 ประเทศของอัลบั้ม ‘Map Of The Soul: 7’, ยูทูบ แชนแนลมีสมาชิกกว่า 53 ล้านคน ไม่ใช่เรื่องเกินเลย หากบอกว่า บีทีเอสคือกลุ่มศิลปินเค-ป็อปที่กำลังครองโลก และน่าสนใจไม่น้อยว่าเป็นเพราะอะไร? พวกเขาถึงมาถึงจุดนี้ได้ และนี่คือความน่าจะเป็น สำหรับมูลเหตุแห่งความสำเร็จของบีทีเอส

ตัวตน : ลักษณะเฉพาะตัวที่ชัดเจนเรื่องการทำงานเป็น ‘ทีม’ 

ปัจจัยความสำเร็จของ BTS

บีทีเอสมีลักษณะเฉพาะตัวที่ชัดเจนเรื่องการทำงานเป็น ‘ทีม’ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับการรักษาความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวเอาไว้ได้ โดยเฉพาะในสภาพการทำงานที่เต็มไปด้วยความกดดัน และอยู่ร่วมกันมานาน

แต่พวกเขาทำได้จากองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ตั้งแต่เป้าหมายที่ตั้งขึ้นมาเป็นอย่างดี มีความชัดเจน สมาชิกพร้อมทำงานหนักร่วมกัน เพื่อทำให้การแสดงออกมาดี ตั้งแต่ฝึกซ้อมอยู่นานหลายปี มีปัจจัยในโลกดนตรีเค-ป็อปเกื้อหนุน ซีฮยุกเองก็ให้อิสระและความยืดหยุ่นกับพวกเขาเต็มที่เรื่องการพัฒนาเสียงร้องและการแสดง

ความสัมพันธ์ของสมาชิกก็เป็นไปด้วยดี พวกเขาช่วยกันพัฒนาทัศนคติและมุมมองในเรื่องต่างๆ ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจและการมีลักษณะเฉพาะร่วมกัน สมาชิกแต่ละคนมีบทบาทชัดเจน แล้วไม่ว่าจะเป็นใครก็รู้ถึงความรับผิดชอบของตัวเอง

รวมถึงร่วมกันแก้ปัญหา และวางกลยุทธต่างๆ ทั้งเจ็ดคนต่างตระหนักถึงการร่วมมือและความสำเร็จของกันและกัน ซึ่งเห็นได้ชัดจากให้การการสนับสนุนกัน และแสดงความยินดีต่อกันเป็นประจำ ที่สำคัญที่สุด พวกเขาทำทุกอย่างด้วยความสนุก ไม่ว่าจะเป็นหัวเราะหรือทำงานร่วมกัน

เพลง : เพลงของพวกเขา (โดยเฉพาะในยุคแรก) นำเสนอเนื้อหาที่ไปไกลกว่าเรื่องรักๆ ใคร่ๆ

การที่ความนิยมที่มีต่อดนตรีเค-ป็อปเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บีทีเอสก็คือศิลปินซึ่งทำเพลงที่ผู้คนอยากฟังเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ข้อมูลจากบิลล์บอร์ดระบุว่า อัลบั้ม Love Yourself: Tear ของพวกเขาที่เป็นงานเพลงภาษาเกาหลี คือ อัลบั้มที่ภาษาหลักเป็นภาษาต่างประเทศชุดแรก ที่ขึ้นอันดับ 1 ในรอบกว่า 12 ปี โดยคนจำนวนมากบอกว่าดนตรีของบีทีเอส มีส่วนไม่น้อยเลยในความสำเร็จของพวกเขา

ขณะที่เพลงเค-ป็อปส่วนใหญ่มักพูดถึงเรื่องความสัมพันธ์และความรัก เพลงของบีทีเอสแตกต่าง ซึ่งไม่ใช่แค่สมาชิกบางคน อย่าง เจ-โฮป, อดีตแร็ปเปอร์จากวงอันเดอร์กราวน์ – ชูกา และอาร์เอ็ม มีส่วนในการทำเพลง ไม่ว่าจะแต่งเพลงหรือโปรดิวซ์ แต่ที่สำคัญไปกกว่านั้นคือ เพลงของพวกเขา (โดยเฉพาะในยุคแรก) นำเสนอเนื้อหาที่ไปไกลกว่าเรื่องรักๆ ใคร่ๆ

อย่าง เรื่องการถูกรังแก, อภิสิทธิชน และปัญหาสภาพจิตใจ เช่น “Spine Breaker” ในปี 2014 ที่ตำหนิเด็กๆ ซึ่งนำเงินของพ่อ-แม่ไปซื้อของแพงๆ ส่วน “Baepsae” ในปี 2015 ก็ประณามคนรุ่นเก่าที่บอกว่าคนรุ่นหนุ่ม-สาวเป็นพวกเกียจคร้าน ขณะที่ “Idol” ในปี 2018 ก็ชวนใถกกันถึงเรื่องการรักตัวเอง โดยไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เลย

งานของพวกเขามีการวางธีมเอาไว้ชัดเจน อาทิ งานไตรภาคว่าด้วยโรงเรียน ซีรีส์ ‘Most Beautiful Moment in Life’, ‘Wings’ และ ‘Love Yourself’ แล้วก็มักใช้บทประพันธ์หรือปรัชญาต่างๆ เป็นที่มา เช่น อัลบั้ม ‘Map of the Soul: Persona’ ที่อ้างอิงได้ถึงงานของคาร์ล จุง นักจิตวิทยา กระทั่งอัลบั้มปาร์ตีสนุกๆ ‘Dionysus’ ถึงจะว่าด้วยเรื่องเมามาย แต่ก็อ้างอิงถึงเทพแห่งไวน์ของกรีก

การแสดง : การแสดงที่ต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและความพยายามที่หาที่สุดไม่

แม้เพลงจะดีงาม ถ้าไม่สามารถนำเสนอออกไปสู่สองหูและสองตาของชาวโลกได้อย่างเหมาะสม มันก็ไม่มีประโยชน์ ซึ่งบีทีเอสทำได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการร้องและเต้นบนเวที ที่เป็นผลจากการฝึกซ้อมอย่างหนัก หรือมิวสิกวิดีโอที่น่าประทับใจ

ซึ่งต่อไม่ใช่แฟนของพวกเขา ที่เรียกกันว่า ดิ อาร์มี (The Army) ก็ยากที่จะไม่รู้สึกสนใจ และหากเป็นอาร์มีอยู่แล้ว ก็จะรักพวกเขาทั้งตัวเพลงและตัวตน รวมถึงการแสดงมากกว่าเดิม กระทั่งมิสเตอร์ซน ผู้ออกแบบท่าเต้นของวง ยังบอกว่า “มิวสิกวิดีโอ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ เพราะสารจากศิลปินสามารถส่งออกไปถึงแฟนๆ อย่างได้ผล”

เพื่อการแสดงที่เยี่ยมยอด บีทีเอสใช้เวลาฝึกฝนวันละหลายๆ ชั่วโมง อย่างการแสดงเปิดตัว พวกเขาต้องใช้เวลาฝึกซ้อม เตรียมตัวถึงวันละ 12-15 ชั่วโมง และได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า

บทความเกี่ยวกับ BTS อื่นๆ >>>>> บทสัมภาษณ์ BTS ใน S Cawaii

เว็บไซต์อื่นๆน่าสนใจ >>>>> เกมออนไลน์

>>>>> แทงบอลออนไลน์