วิเคราะห์รายได้ BTS

วิเคราะห์รายได้ BTS ศิลปินที่ทำรายได้ถึง 3,400 ล้านวอน

วิเคราะห์รายได้ BTS เมื่อศิลปินระดับ Top 1% ทำรายได้เฉลี่ยต่อหัวได้ถึง 3,400 ล้านวอนในหนึ่งปี

วิเคราะห์รายได้ BTS อ้างอิงจากข้อมูลรายได้ของคนดังแบ่งตามแต่ละอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2018 ที่สำนักงานภาษีแห่งชาติส่งรายงานต่อ ยางคยองซุก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี หนึ่งในคณะกรรมการด้านยุทธศาสตร์และการเงินประจำรัฐสภาเกาหลี

พบว่ารายได้ทั้งหมดของศิลปินนักร้อง 6,372 รายตามรายงานในปี 2018 อยู่ที่ 409,578 ล้านวอน โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 64.28 ล้านวอน ในขณะที่ศิลปินนักร้องระดับ Top 1% จำนวน 63 ราย ทำรายได้ทั้งปีได้ถึง 217,000 ล้านวอน ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของศิลปินนักร้องระดับ Top 1% อยู่ที่ 3,446.98 ล้านวอน ต่างจากอีก 99% ถึง 113 เท่า

ความเหลื่อมล้ำของรายได้ของศิลปินนักร้อง, นักแสดงและนางแบบ/นายแบบในเกาหลีอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง ในขณะที่รายได้ต่อหัวของศิลปินระดับ Top 1% อยู่ที่ราว 3,400 ล้านวอน

รายได้ต่อหัวของนักแสดงระดับ Top 1% อยู่ที่ราว 1,700 ล้านวอน และของนางแบบ/นายแบบระดับ Top 1% อยู่ที่ราว 490 ล้านวอน แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น

รายได้ของนักแสดงและนางแบบ/นายแบบแปรผันไปตามผลงานและงานโฆษณา  ดังนั้นหากไม่ได้ออกผลงานในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็จะไม่มีรายได้ในส่วนนี้ โดยเฉพาะในกรณีที่นักแสดงและนางแบบ/นายแบบหน้าใหม่ซึ่งเพิ่งเดบิวต์หรือไม่มีชื่อเสียงก็จะก่อให้เกิดหนี้สะสมและห่างไกลจากการทำกำไร

ท่ามกลางศิลปินนักร้องเองก็ตาม รายได้ไอดอล ก็อยู่ในเกณฑ์ที่สูง พวกเขาเหล่านี้มีชื่อเสียงในสาธารณะเป็นอย่างมาก การทำการแสดง 1 รอบหรือออกโฆษณาสักตัวก็ทำรายได้ได้หลายพันล้านวอน

ตารางรายได้ของคนดังแบ่งตามแต่ละอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2018 วิเคราะห์รายได้ BTS

วิเคราะห์รายได้ BTS

เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างรายได้ของสังกัดศิลปิน K-pop จะพบว่าโดยพื้นฐานแล้ว ยอดขายของสังกัดเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 1.) ยอดขายที่ศิลปินมีส่วนก่อให้เกิดขึ้นโดยตรง ได้แก่ ยอดขายอัลบั้ม (เพลง), ยอดขายจากการแสดงคอนเสิร์ต และยอดขายจากโฆษณา เป็นต้น และ 2.) ยอดขายที่ศิลปินมีส่วนที่ก่อให้เกิดขึ้นทางอ้อม ได้แก่ ยอดขายจากสินค้าและลิขสิทธิ์, ยอดขายจากคอนเทนต์​ (ทรัพย์สินทางปัญญา) เป็นต้น

หากวิเคราะห์ยอดขายจากต้นสังกัดศิลปินวง BTS หรือก็คือ Big Hit Entertainment ที่ทำได้ถึง 301,300 ล้านวอน หรือประมาณ 8,252.1 ล้านบาท ตลอดปี 2018 พบว่ายอดขายโดยตรงจากศิลปินอยู่ที่ 68.8%

ในขณะที่อีก 31.2% เป็นยอดขายที่ศิลปินมีส่วนทางอ้อมอันเกิดจากความสามารถในการวางแผนของต้นสังกัด ยอดขายในแต่ละส่วนแบ่งออกเป็น อัลบั้ม 35%, คอนเสิร์ต 29.1%, สินค้าและทรัพย์สินทางปัญญา 17% และคอนเทนต์ 11.1% นั่นหมายความว่า BTS จำหน่ายอัลบั้มและบัตรคอนเสิร์ตได้ถึง 2 ใน 3 ของยอดขายทั้งหมดเลยทีเดียว

ด้วยกระแสความร้อนแรงของวงการ K-Pop ที่ทำให้เหล่าศิลปินเจาะตลาดโลกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ยอดขายจากต่างประเทศก็ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ก่อนปี 2018 ยอดขายส่วนใหญ่ (72%) ของ Big Hit มาจากในเกาหลี

อีก 23.4%, 27.2%, 4.4% มาจากเอเชีย, อเมริกาเหนือ และภูมิภาคอื่นๆ ตามลำดับ และทำยอดขายจากออนไลน์ได้เพียง 3.9% ยอดขายสุทธิของ Big Hit ในปี 2016 อยู่ที่ 35,200 ล้านวอน, ปี 2017 ที่ 92,400 ล้านวอน, ปี 2018 ที่ 301,300 ล้านวอน, ปี 2019 ที่ 587,200 ล้านวอน และครึ่งปีแรกของปี 2020 ที่ 294,000 ล้านวอน เรียกได้ว่ายอดขายของ Big Hit เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วถึงปีละ 90%

การสร้างรายได้จากการรับโฆษณาและคอนเท้นต์ต่างๆ ในปี 2020 ของวง BTS

  • Seoul X BTS

BTS ได้ถูกรับเลือกการเป็นทูตท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวกรุงโซล เมื่อปี 2018 ด้วยคอนเซปต่างๆ และยังคงเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีให้กับแฟนๆทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเชิญชวนให้ผู้คน เข้ามาท่องเที่ยวในเกาหลีใต้

  • FILA X BTS

FILA ได้เลือก BTS เป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์โฆษณาระดับโลกเมื่อปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เพราะเห็นตรงกันว่าสมาชิกในวงมีความสอดคล้องกับตัวสินค้าที่นำเสนอ และสามารถเป็นผู้นำเทรนด์แฟชั่นของแบรนด์ได้มากที่สุด และตัวแบรนด์เองก็มักจะส่งเสื้อผ้าไปให้พวกเขาสวมใส่ในการออกรายการต่างๆ เพื่อเป็นการโฆษณาไปในตัวด้วย

  • Hyundai X BTS

กลุ่ม Hyundai ทำงานร่วมกับ BTS เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรณรงค์ไฮโดรเจนทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น ในแคมเปญโฆษณา Palisade ระดับโลกอย่าง Always Remarkable ของ Hyundai และพวกเขายังได้แต่งเพลงเพื่อการโฆษณาให้อีกด้วย

  • Samsung X BTS

BTS ทำงานร่วมกับ Samsung เพื่อเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นพิเศษของ BTS ที่มาพร้อมกับธีม BTS และตัวมือถือรุ่นใหม่อย่าง GalaxyNote20

  • Chilsung Cider X BTS

BTS ถูกเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์ Chilsung Cider เมื่อต้นปีนี้และได้เปิดตัวพร้อมเครื่องดื่มใหม่อย่างรสส้มและพีชใหม่ของเครื่องดื่มนี้หลังจากมีแค่เพียงรสเดียวมาตลอด

  • Formula E X BTS

หนุ่มๆ BTS ถูกแต่งตั้งให้เป็น แบรนด์แอมบาสเดอร์ระดับโลกอย่างเป็นทางการสำหรับ 2020 Formula E Racing Championship ซุปตาร์ระดับโลก BTS ในฐานะ แอมบาสเดอร์ระดับโลก เพื่อส่องสว่างในประเด็นทางสังคมที่สำคัญและสร้างความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • Bodyfriend X BTS

BTS ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์รายใหม่ของแบรนด์เก้าอี้นวดไฟฟ้าอันดับ 1 ของโลก ‘BODYFRIEND’ ออกแคมเปญวิดีโอ BTS in BODYFRIEND จำนวน 6 ตอน ทางโทรทัศน์และ YouTube โดยได้เริ่มเปิดตัว 2 ตอนแรกไปแล้วเมื่อวันที่ และเพียงเวลาไม่นานสามารถเพิ่มยอดขายให้ทาง BODYFRIEND

  • Starbucks X BTS

Starbucks to roll out BTS drinks

ในช่วงต้นปีนี้ BTSได้ที่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ ‘Be the B S Stars’ ซึ่งเป็นแคมเปญที่ช่วยพัฒนาการศึกษาสำหรับเด็กผู้ด้อยโอกาส

  • Baskin Robbins X BTS

เมื่อเร็วนี้ BTS ได้ะร่วมมือกับ Baskin Robbins เพื่อปล่อยเค้ก ‘7’ พิเศษเพื่อฉลองปีที่เจ็ดนับตั้งแต่เปิดตัว

โดยสรุปแล้ว รายได้ไอดอล จะอยู่ที่ใดกันแน่?

การกระจายผลกำไรจะถูกแบ่งตามสัดส่วนที่ศิลปินและสังกัดเป็นผู้กำหนดไว้ โดยมาจากยอดขายสุทธิอ้างอิงตามกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) ที่หักค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตและค่าแรง เป็นต้น

ในปี 2018 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ของ Big Hit อยู่ที่ 301,300 ล้านวอน และกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit) อยู่ที่ 79,900 ล้านวอน หากพิจารณาจากประเด็นที่ว่า BTS คือศิลปินเพียงวงเดียวในปีนั้นภายใต้ Big Hit เรียกได้ว่า BTS ทำเงินตลอดทั้งปีได้ถึง 301,300 ล้านวอน และหากอัตราการกระจายผลกำไรระหว่างต้นสังกัดและศิลปินอยู่ที่ 50:50 ส่วนแบ่งของ BTS จะอยู่ที่ราว 39,900 ล้านวอน หรือประมาณ 1,093 ล้านบาท

คิดเป็นเมมเบอร์ละ 5,700 ล้านวอน หรือประมาณ 156.1 ล้านบาท ในปี 2019 กำไรจากการดำเนินงานของ Big Hit อยู่ที่ 98,700 ล้านวอน หากคำนวณในอัตราการกระจายผลกำไรเดียวกัน ส่วนแบ่งของ BTS จะอยู่ที่ราว 7,000 ล้านวอน หรือประมาณ 191.7 ล้านบาทต่อเมมเบอร์

การกระจายผลกำไรในแต่ละสังกัดใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งสัดส่วนของศิลปินถูกกำหนดเอาไว้สูง กำไรต่อหัวก็จะสูงขึ้นตามสัดส่วน ในกรณีของ BTS คาดว่าอัตราการกระจายผลกำไรระหว่าง BTS และ Big Hit หลังจากต่อสัญญาใหม่ในปี 2018 อยู่ที่ 70:30

อย่างไรก็ดี การเป็นศิลปินกลุ่มไอดอลไม่ได้หมายความว่าจะการันตีผลกำไรหลักร้อยล้านได้ เพราะสเกลของฐานแฟนคลับส่งผลต่อผลกำไรของไอดอลเป็นอย่างมาก และกำไรของต้นสังกัดเองก็แปรผันตามกำลังซื้อของฐานแฟนคลับในการบริโภคอัลบั้ม, คอนเสิร์ต, สินค้า และอื่นๆ เช่นกัน ต่อให้ไอดอลรายนั้นๆ มีชื่อเสียงมาก แต่หากจำหน่ายอัลบั้มได้น้อยและไม่มีผู้ชมเต็มสถานที่จัดคอนเสิร์ต ก็เป็นการยากที่จะสร้างยอดขายให้เกิดขึ้นได้

เช่นในกรณีของไอดอลวงหนึ่งจากสังกัดใหญ่ที่ได้รับความสนใจในฐานะ ‘ตัวเต็งของวงการ K-Pop รุ่นต่อไป’ ซึ่งจัดคอนเสิร์ตออนไลน์เมื่อไม่นานมานี้กลับขาดทุนเพราะมีผู้ชมไม่ถึง 10,000 ราย แม้จะเป็นที่นิยมในสาธารณะเป็นอย่างมาก แต่ด้วยสเกลฐานแฟนคลับที่ไม่ใหญ่ทำให้ไม่มีแฟนๆ ที่สามารถบริโภคคอนเทนต์ (คอนเสิร์ต) แบบเสียค่าบริการได้มากเพียงพอ

ผู้เกี่ยวข้องในสังกัด K-Pop เผย “ในกรณีของไอดอล แนวโน้มปรากฎการณ์ของฐานแฟนคลับนั้นค่อนข้างมีความรุนแรง มันคือสภาวะที่ฐานแฟนคลับขนาดใหญ่รวมกลุ่มก้อนอยู่กับสังกัดใหญ่ๆ และด้วยความที่กำไรผันแปรไปตามความนิยม ความเหลื่อมล้ำระหว่างความรวย-จนของไอดอลจึงยิ่งทวีความรุนแรง”

ที่มา : Edaily

ติดตามข่าวสารได้ที่ BTBLACKXSWAN

บทความเกี่ยวกับ BTS อื่นๆ >>>>> 10 เพลงเนื้อหารุนแรง BTS

เว็บไซต์อื่นๆน่าสนใจ >>>>> เว็บดูบอลสดฟรี